lnwFPV
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ

Go down

Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ Empty Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ

ตั้งหัวข้อ by poktkm 28/8/2016, 1:02 am

ตั้งแต่ FPV Racing ได้รับความนิยมในโลกของเครื่องเล่นบังคับวิทยุ นักออกแบบที่มีความสามารถทั่วโลกก็ได้ออกแบบเฟรมออกมามากมายโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยมีหัวใจอยู่ความเบาและความแข็งแรงในการบิดตัวและคงทนต่อการกระแทกอย่างรุนแรง

เฟรมสำหรับ FPV Racing นั้นมีหลากหลายประเภทและขนาดจึงไม่สามารถแจกแจงและอธิบายได้อย่างครบถ้วนในบทความเดียว อย่างไรก็ดีเราสามารถแบ่งการออกแบบของเฟรมได้เป็นสองประเภทคือ


  1. Unibody Frame: แบบชิ้นเดียว
  2. Modular Frame: แบบแยกส่วน


Unibody Frame

เฟรม Unibody หรือเฟรมชิ้นเดียวนั้นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งได้รับการใช้ครั้งแรกกับ QAV250 และก็มีการใช้รูปแบบการออกแบบเดียวกันในเฟรมยอดนิยมรุ่นต่างๆเช่น QAV210, QAVX210, และ RMRC Goby 210

ความหมายของเฟรมชิ้นเดียวคือคือเฟรมที่มีแผ่น Carbon Fiber แผ่นร่างที่เป็นชิ้นเดียว รวมแผ่นล่างกับแขนทั้งสี่ข้างเป็นชิ้นเดียว ความหนาของแผ่น Carbon Fiber นั้นมีตั้งแต่ 2.5mm ที่ใช้กับเฟรมใบ 3 นิ้ว ไปจนถึงความหน้า 4-5mm ในเฟรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ดีการที่ใช้ แผ่น Carbon ที่หนาขึ้นก็ทำให้น้ำหนักมากขึ้นตามแต่สิ่งที่ได้ตามคือความแข็งแรง ก็แล้วแต่จุดมุ่งหมายของการออกแบบเฟรมแต่ละประเภท (Racing หรือ Acrobatic)

Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ 2hwpaub

แผ่น Carbon ชิ้นล่างจะถูกตัดจาก Carbon Fiber แผ่นใหญ่แผ่นเดียวจึงทำให้เฟรมชนิดนี้มีความแข็งแรงอย่างมาก โดยการที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้ก็ต้องเป็นการชนที่รุนแรงจริง เท่าที่เห็นมาถ้าไม่ตกใส่เหล็กหรือพื้นแข็งก็จะทำความเสียหายให้เฟรมประเภทนี้ได้ยาก

เฟรมแบบ Unibody นั้นถูกออกแบบให้การประกอบนั้นง่ายมากๆ โดยส่วนมากแล้วก็จะมีไม่เกิน 4-5 ชิ้น - แผ่นล่าง, แผ่นบน และก็แผ่นด้านข้างทั้งสองข้างเพื่อยึดกล้อง โดยในเฟรมรุ่นใหม่ๆอย่าง QAVX210 ก็จะมีอุปกรณ์ที่ทำให้ยึดกล้อง HD เช่น Gopro หรือ Xiaomi ทำให้การประกอบตัวลำนั้นง่ายและใช้เวลาน้อยลงมาก

ข้อเสียหลักๆอย่างเดียวของเฟรม Unibody คือความเสียหายกับแผ่นล่าง เพราะถ้ามีการตกกระแทกแล้วเกิดความเสียหายแก่แขนข้างใดข้างหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแค่แขนข้างใดข้างหนึ่งได้แต่ก็ต้องเปลี่ยนแผ่นล่างทั้งแผ่น ซึ่งก็หมายถึงการถอดมอเตอร์และ esc ทุกตัว รวมถึงอุปกรณ์และชุดไฟทุกอย่างด้วย

ในเฟรมที่มีขนาดเล็กๆมาก เฟรมแบบ Unibody ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีเพราะเนื่องจากพื้นที่ที่จำกัด การที่มีจุดยึดและน๊อตที่ใช้ในการยึดแขนทั้งสี่ข้างก็อาจจะเป็นไปไม่ได้

Modular Frame


เฟรมที่ออกแบบเป็นแบบแยกชิ้นและได้รับความนิยมอยากมากคือ Alien และ ZMR รุ่นและขนาดต่างๆ ซึ่งคนที่เคยประกอบเฟรม ZMR รุ่นแรกๆมาแล้วจะรู้ว่าการประกอบมีความยุ่งยากขนาดไหน การประกอบและยึดน๊อตแขนทั้งสี่ข้างนั้นต้องใส่ความสามารถและอดทนพอสมควร และถ้าต้องการที่จะซ่อนสายไฟให้ดูสวยงามด้วยแล้วนั้นยิ่งที่จะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก

Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ 331zuoy

เฟรม Modular รุ่นใหม่ๆอย่าง Alien and QAV-R ก็ได้ทำการพัฒนาให้ใช้น๊อตยึดให้น้อยลงและยังคงความแข็งแรงด้วยการที่ให้ขาทั้งสี่ขาทำการยึดและดันกันเอง อย่างไรก็ตามข้อดีของเฟรมประเภทนี้คือ การที่เราสามารถเปลี่ยนแขนซึ่งเป็นจุดที่เสียหายมากที่สุดได้ง่าย และไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อเฟรมใหม่ทั้งชุด ข้อดีอีกอย่างซึ่งถือว่าเป็นการออกแบบที่ฉลาดมากๆคือการที่เราสามารถเลือกความยาวของแขนได้ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ใบห้าหรือหกนิ้วแล้วก็เลือกความยาวของขาให้เหมาะสม

ข้อเสียหลักๆก็คือความแข็งแรงโดยรวม เมื่อเทียบกับเฟรม Unibody ที่มีขนาดเบาว่าจึงสามารถเลือกใช้แผ่น Carbon ที่หนากว่าได้ แต่ในเฟรมแบบ Modular นั้นเนื่องจากจะต้องมีการใช้น๊อตจำนวนมาก ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ตัวลำโดยรวมจึงไม่สามารถใช้แผ่น Carbon ที่หนามากกับแผ่น บนและล่าง จึงส่งผลให้ความแข็งแรงนั้นน้อยลง

Frame FPV Racing ประเภทต่างๆ 2z6ec7d

Carbon แผ่นบนและแผ่นล่างถึงจะมีความหนาที่น้อยและแข็งแรงน้อยกว่า แต่โอกาศที่จะได้ตกและได้รับความเสียหายที่จุดนั้นๆก็น้อยกว่าเช่นกัน

สรุป

เฟรมทั้งสองประเภทก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป และที่สำคัญที่สุดคืออารมการบินของเฟรมทั้งสองประเภทนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลย เพราะฉะนั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนครับ
poktkm
poktkm

จำนวนข้อความ : 40
Join date : 15/06/2016
ที่อยู่ : Bangkok

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ